วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์ปารีส

ประวัติศาสตร์ปารีส

ประวัติศาสตร์ปารีส
ประวัติศาสตร์ปารีส
กรุงปารีสก่อตั้งขึ้นเมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล โดยในขณะนั้นมีฐานะเป็นแคว้นอีล เดอ ลา ซิเต้ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของชนเผ่าเซลติคและรู้จักในนามปาริซี ในช่วง 52 ปีก่อนคริสตกาลเป็นช่วงที่ความขัดแย้งของชาวเซลติคและชาวโรมันสิ้นสุดลง จูเลียต ซีซาร์ซึ่งเป็นจักรพรรดิ์โรมันได้เข้ามาปกครองปาริซีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คริสตศาสนาเริ่มเข้ามาในปาริซีในช่วงค.ศ 200 และกองทัพของโรมันก็ถูกโจมตีและออกจากดินแดนแห่งนี้ในช่วงค.ศ 500 โดยผีมือชองชาวแฟรงค์ ในปีค.ศ 508 พระเจ้าแฟรงคิช โคลวิชที่ 1 ได้รวบรวมเซลติกเข้าไปเป็นอาณาจักรเดียวกันโดยตั้งให้กรุงปารีสเป็นเมืองหลวงของประเทศโดยตั้งชื่อขึ้นตามปาริซีซึ่งเป็นชื่อเดิมของแถบนี้
ดูข้อมูลทั่วไปเพิ่มเติม »
ปารีสมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในช่วงยุคกลาง ช่วงศตวรรษที่ 12 ได้เริ่มการก่อสร้างมหาวิหารนอร์ท-ดามซึ่งต้องใช้เวลากว่า 200 ปีในการก่อสร้าง ขณะที่เลอ เมอเร่ย์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำแซนต่อมาได้กลายเป็นสถานที่ซึ่งรู้จักกันปัจจุบันในนามฝั่งขวาของแม่น้ำ ขณะที่เลอร์ ซอร์บอนน์เริ่มเปิดประตูต้อนรับผุ้มาเยือนในปี 1253 ด้านวิหารแซงต์ – ชาแปลอันงดงามก็ก่อสร้างสำเร็จในปี 1248 และประมาณปี 1200 ลูฟร์ก็ได้ถูกเปิดใช้ในฐานะป้อมปราการริมน้ำเป็นครั้งแรก
ในช่วงศตววษที่ 9 ชาวสแกนดิเนเวียได้เข้ามารุกรานฝรั่งเศสด้านตะวันตกอีกครั้ง ซึ่งความขัดแย้งนี้มีต่อเนื่องกว่า 3 ปีโดย ชาวสแกนดิเนเวียมุ่งหวังจะยึดเอาปารีสมาอยู่ภายใต้การปกครองของตน ด้วยเหตุดังกล่าวนั่นเองที่เป็นต้นกำเนิดทำให้เกิดสงครามร้อยปี ระหว่างชาวนอร์มัน อังกฤษ และราชวงศ์ของปารีส ในที่สุดผลก็ออกมาว่า ชาวฝรั่งเศสมีสิทธิ์เหนืออาแฌงคูร์ตในปี 1415 และอังกฤษเข้ามาปกครองปารีสในปี 1420 ในปี 1429 ญอง ดาร์ด หรือโจน ออฟ อาร์คหญิงสาววัย 17 ปีได้นำกองทัพฝรั่งเศสต่อสู้กับอังกฤษจนได้รับอิสรภาพและขับไล่กองทัพอังกฤษออกไปในปี 1453
ยุคเรเนสซองค์ได้ช่วยให้ปารีสกลับมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 เห็นได้จากอาคารและอนุสาวรีย์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญถูกสร้างขึ้นมากมายในช่วงยุคนี้ ปารีสต้องเจอกับสงครามอีกครั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 โดยครั้งนี้เป็นสงครามศาสนาระหว่างกลุ่มอูเกอโนต์ซึ่งนับถือนิกายโปแตสแตนท์และผู้ที่นับถือคริสตศาสนานิกายคาธอลิก จุดที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในปี 1572 เมื่อมีการสังหารกลุ่มอูเกอโนต์กว่า 3000 คนในวันอภิเษกสมรสของประเจ้าเฮนรี่ที่ 4 โดยเรียกวันดังกล่าวภายหลังว่าโศกนาฎกรรม วันเซนต์ บาเตเลมิว
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 หรือที่รู้จักกันในนาม le Roi Soleil หรือราชาแห่งพระอาทิตย์ ทรงขึ้นครองราชย์ในปี 1643 ด้วยพระชนมายุเพียง 5 พรรษา โดยพระองค์ทรงครองราชย์จนถึงปี 1715 ในช่วงที่พระองค์ทรงปกครองฝรั่งเศสนั้น พระองค์เกือบล้มละลายเนื่องด้วยทรงใช้พระราชทรัพย์ในการทหารและสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมาก โดยพระองค์ทรงสร้างพระราชวังแวร์ซายน์ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงปารีสไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 23 กิโลเมตร หลังจากพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นครองราชย์ ประชาชนต่างรู้สึกไม่พอใจกับการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยของพระองค์และพระมเหสี – พระนางมาเรีย อองตัวเน็ต ทำให้ชาวปารีสได้ทำการล้มราชวงศ์ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 และนั้นเองเป็นจุดกำเนิดของการปฎิวัติฝรั่งเศส
ความคิดของมวลชนเกี่ยวกับการปฎิวัติได้รับการปลุกระดมอย่างรวดเร็วจนนำไปสู่การล้มล้างระบบกษัตริย์ของฝรั่งเศส ในปี 1799 หลังการปฎิวัติกลุ่มรัฐบาลจากการปฎิวัติได้แต่งตั้งจักรพรรดินโปเลียนขึ้นเป็นผู้ปกครองและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลครั้งแรกของฝรั่งเศส ในปี 1804 นโปเลียนทรงปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสและทรงแผ่พระราชอำนาจออกไปทั่วยุโรป ทรงเข้ายึดครองรัสเซียในปี 1812 และเบลเบี่ยมในปี 1815 ตำนานความยิ่งใหญ่ของพระองค์ได้รับการยกย่องโดยผู้คนชาวฝรั่งเศส โดยมีการสร้างอนุสรณ์สถานและสิ่งปลูกสร้างรูปแบบศิลปะนีโอคลาสสิกอย่างประตูชัยเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระองค์
หลังจากสวรรคตของจัรกพรรดินโปเลียน ฝรั่งเศสได้ประสบกับปัญหาการปกครองที่ไม่มีประสิทธิภาพจนกระทั่ง Coup d'etat แต่งตั้งจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในปี 1851 ภายในช่วงเวลา 17 ปี พระองค์ทรงทำการวางแผนและจัดการปารีสให้เป็นเมืองที่มีความทันสมัย พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ทรงมีความมุ่งหวังในการทำสงครามเช่นเดียวกับจักรพรรดินโปเลียนกระนั้นพระองค์ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการทำสงครามเท่าใดนัก การก่อสงครามกับชาวปรัสเซียในช่วงปี 1870 ข่าวการถูกจับกุมพระองค์โดยศัตรูทำให้ประชาชนต่างออกมายังท้องถนนและเรียกร้องการปกครองแบบสาธารณรัฐอีกครั้งหนึ่ง
แม้การเริ่มต้นปฎิวัติจะมีการเสียเลือดเนื้อ กระนั้นในการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 3 ได้นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของยุคสวยงาม ผลงานศิลปะในยุคสวยงามนั้นเป็นการนำศิลปะอาร์ตนูโว ซึ่งเป็นการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมและการขีดกั้นของศิลปะและวิทยาศาสตร์ ในช่วงปี 1930 ปารีสได้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางด้านศิลปะและเสรีภาพทางความคิดของโลก ศตวรรษที่ 20 เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่ความสะดวกสบายและทันสมัย เริ่มมีการใช้กระแสไฟฟ้า ห้องน้ำ ลิฟต์ และเครื่องทำความอุ่น
วิถีชีวิตในปารีสเต็มไปด้วยสีสันและความหรูหรา เมืองหลวงแห่งนี้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเมื่อได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านในการจัดแสดงสินค้าเอ็กซ์โปร์ปี 1889 ซึ่งในปีนั้นมีการก่อสร้างหอไอเฟิลเพื่อเป็นสัญลักษณ์และประตูทางเข้างาน ทั้งนี้ถือได้ว่าหอไอเฟิลกลายเป็นความภูมิใจของชาติ อีกทั้งเป็นการแสดงออกซึ่งการก้าวสู่ยุคสมัยแห่งการปกครองแบบใหม่
ปารีสกลายเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งการสร้างสรรค์ในโลกของงานแฟชั่นศิลปะพลาสติก โรงภาพยนต์ ศิลปินมากมายในโลกล้วนเคยมาพำนักในกรุงปารีสแห่งนี้
ความสวยงามของบ้านเมืองในช่วงนั้นถูกทำลายหมดสิ้นเมื่อกองทัพนาซีเข้ามายึดเมืองในปี 1940 เมืองปารีสต้องอยู่ใต้การปกครองของเยอรมันจนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 1944 ในช่วงปลายสงครามนั้นกรุงปารีสประสบกับสภาวะซบเซาเป็นอย่างมาก จำนวนประชากรตกไปอยู่ในอัตราเดียวกับเมื่อปี 1936 และต้องใช้เวลาในการปฎิรูปบ้านเมืองจนถึงปี 1949 ช่วงปี 1954 ปารีสประสบปัญหาคนไม่มีที่อยู่ เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากถูกทำลายในช่วงสงคราม ซึ่งสวนทางกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นกว่า 600,000 คนในระหว่างปี 1946-1954
ในปี 1954 ได้มีการบูรณะบ้านเมืองครั้งใหญ่โดยจัดสร้างที่พักราคาถูกที่เรียกว่า HLM ซึ่งภายในได้รับการตกแต่งอย่างดี
ในช่วงปี 1960 ปารีสได้ก้าวสู่การเป็นเมืองใหญ่ระดับนานาชาติ และเริ่มมีการนำสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยเข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเส้นทางเชื่อมทางด่วน สนามบินนานาชาติ ได้แก่สนามบินออร์ลี่และชาร์ล เดอ เกล รวมถึงปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับโรงแรมและที่พักเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น
ปารีสยังฟื้นฟูตำแหน่งเป็นผู้นำด้านสถานศึกษา โดยสามารถทำชื่อเสียงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับในการแข่งขันการเป็นผู้นำในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี 1968 มหาวิทยาลัยซอร์บอร์น (Sorbonne) ได้ถูกจองเต็ม มีการกีดขวางการเข้าเรียนต่อในกลุ่มลาติน และมีประชากรอีกกว่า 9 ล้านคนให้ความสนใจในการเรียนต่อในสาขาทั่วไป ซึ่งทำให้กลุ่มคนเหล่านั้นเกิดความไม่พอใจในมาตรฐานการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในสถาบันของฝรั่งเศส
ในระหว่างปี 1980 ประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง ได้มีความคิดในการดำเนินการโปรเจ็คขนาดใหญ่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารที่จะต้องใช้งบประมาณมหาศาล อาทิ เซนเตอร์ ปอมปิดัว และพิระมิดแก้วหน้าพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ซึ่งต่อมาภายหลังได้กลายเป็นความล้มเหลวครั้งยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส ทั้งนี้สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพียงต้องการสื่อถึงความสุนทรียภาพแห่งการใช้ชีวิตของชาวปารีสเท่านั้น
ปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาเยือนกรุงปารีส ซึ่งสถานที่ที่คนแวะเยี่ยมชมมากที่สุดได้แก่หอไอเฟล พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พระราชวังแวร์ซาย พิพิธภัณฑ์ในปอมปิดัวเซนเตอร์ พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์ Cite des Sciences และมหาวิหารนอทร์ – ดาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น